เสริมหน้าอก

ทำหน้าอก เสริมหน้าอก เหมาะกับใครบ้าง ที่ทำได้

การทำหน้าอก ถือเป็นอีกทางเลือกที่ทำให้สาว ๆ ที่มีปัญหาหน้าอกเล็ก หรือไม่ตรงตามความต้องการได้กลับมามีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือขนาดของหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น รูปร่างของหน้าอกที่สวยงามและเท่ากัน รวมถึงช่องอกที่ชัดเจนกว่าเดิม ส่งผลให้มีความมั่นใจในรูปร่างมากยิ่งขึ้น ก่อนการตัดสินใจ สาว ๆ ควรศึกษาหาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้น

ผู้ที่เหมาะกับการเสริมหน้าอก

คนที่มีเต้านมขนาดเล็กไม่หย่อนคล้อยมาก และไม่ต้องการเต้านมที่ขนาดใหญ่จนเกินไป การเพิ่มขนาดเต้านมจะเพิ่มความเชื่อมั่นในการแต่งกายและใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น

ผู้ที่มีบุตรและเต้านมเล็กลงต้องการผ่าตัดเพื่อเสริมขนาดทรวงอกให้มากขึ้นแต่งตัวให้ขึ้นดูเต้านมเต็มทรงและสวยงามขึ้น

รูปแบบการเสริมหน้าอก

การผ่าตัดเสริมหน้าอกในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 แบบ สามารถทำแบบใดแบบหนึ่งหรือทำร่วมกันทั้งสองอย่างในครั้งเดียวได้ ประกอบไปด้วย

  1. การเสริมหน้าอกด้วยเต้านมเทียม (Breast Implant Augmentation)
  2. การเสริมหน้าอกด้วยไขมันตัวเอง (Fat Transfer Augmentation) เป็นวิธีที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะใช้เนื้อเยื่อตนเอง ไม่ใช้วัตถุแปลกปลอม มีความเป็นธรรมชาติสูง แต่มีข้อจำกัดหลายเรื่อง ได้แก่ จำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติมคือ การดูดไขมัน ซึ่งต้องมีอุปกรณ์เฉพาะและการอยู่ตัวของไขมันที่ฉีดอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเสริมหน้าอกและการดูแลหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดนั้น หากคนไข้มีโรคประจำตัวต้องคุมโรคให้อยู่ในภาวะปกติ งดอาหารเสริมและยาบางชนิดที่ทำให้เลือดออกมาก รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เตรียมสภาพจิตใจให้พร้อมกับผลหลังการผ่าตัด ไม่ควรคาดหวังว่าการผ่าตัดจะออกมาเหมือนอย่างที่คิดไว้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และควรมีระยะเวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดประมาณ 3-5 วัน โดยหลังผ่าตัดคนไข้จะค่อนข้างเจ็บในช่วงสัปดาห์แรก โดยเฉพาะการผ่าตัดใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ อาจมีความรู้สึกแน่น ตึง ค่อนข้างมากประมาณ 2 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ ทานอาหารได้ตามปกติ งดการออกกำลังกายที่ลงน้ำหนักมาก และสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติหลังผ่าตัด 1 เดือน การผ่าตัดเสริมหน้าอกหลังทำต้องมีการนวดอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ต่าง ๆ มากมาย แต่ซิลิโคนถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ไม่ว่าจะเป็นซิลิโคนที่ใช้เสริมจมูก เสริมคาง หรือเสริมหน้าอก โดยร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อมาห่อหุ้มเกิดเป็นพังผืด ดังนั้น จึงต้องทำการนวดเพื่อไม่ให้เนื้อเยื่อพังผืดรัดซิลิโคนมากเกินไป

ทำหน้าอก ที่ไหนดี

ขั้นตอนการผ่าตัดเสริมหน้าอก

การผ่าตัดเสริมหน้าอกใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่มักใช้การดมยาสลบและอาจมีการฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าไปด้วย ก่อนการผ่าตัดศัลยแพทย์จะทำการวัดขนาดของหน้าอกและรอบตัวของคนไข้ จากนั้นจึงเปิดแผลเพื่อใส่ซิลิโคน โดยส่วนใหญ่การเสริมหน้าอกจะเป็นการใส่ซิลิโคนไว้ใต้กล้ามเนื้อ แต่ต้องพิจารณาจากลักษณะของหน้าอกเป็นหลัก เช่น คนที่หน้าอกคล้อยมาก ๆ อาจจะไม่ได้ใส่ไว้ชั้นใต้กล้ามเนื้อ รวมทั้งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศัลยแพทย์ หากเป็นการเสริมด้วยซิลิโคนแบบถุงน้ำเกลือ เมื่อใส่ถุงน้ำเกลือเข้าไปแล้ว ศัลยแพทย์จะทำการเติมน้ำเกลือเข้าไป โดยถุงน้ำเกลือจะมีหลากหลายขนาดแตกต่างกันออกไป เช่น ถุงขนาด 300 ซีซี ต้องเติมน้ำเกลือ 300 ซีซี แต่สามารถเพิ่มได้อีกเล็กน้อยประมาณ 310 ซีซี แต่ไม่สามารถใส่ถึง 350 ซีซีได้ แต่ถ้าถุงมีขนาดใหญ่แล้วเติมน้ำเกลือน้อย ก็จะทำให้หน้าอกดูไม่เต่งตึง เมื่อเติมน้ำเกลือในปริมาตรที่เหมาะสมแล้วจึงเย็บปิดแผล สำหรับซิลิโคนเจล เมื่อวางในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว จึงทำการเย็บปิดแผล ปัจจุบันด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย ทำให้มีการศัลยกรรมเสริมหน้าอกโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง (Endoscopic Breast Augmentation) ข้อดีคือทำให้แผลเป็นมีขนาดเล็ก ใช้ระยะเวลาพักฟื้นน้อย ลดความเจ็บปวดในการผ่าตัด ฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบปกติ และปัญหาอย่างหนึ่งของการเสริมหน้าอก คือ เสริมออกมาแล้วสูงต่ำไม่เท่ากัน การผ่าตัดผ่านกล้องจะทำให้มองเห็นบริเวณที่ทำการผ่าตัดได้อย่างชัดเจน ดังนั้น โอกาสที่จะโดนเส้นเลือดและเส้นประสาทก็จะน้อยลง ทำให้เลือดออกน้อยลง ความแม่นยำในการเลาะโพรงมีมากขึ้น ทำให้ความแม่นยำในการผ่าตัดดีขึ้น ผลลัพธ์ก็คือเต้านมทั้งสองข้างก็จะอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด

ข้อควรระวังของการทำหน้าอก

การทำหน้าอกอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น ผู้ที่ต้องการเสริมหน้าอกที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

  1. ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ตนเอง
  2. ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ รวมถึงการรับประทานยาที่ทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลงด้วย
  3. มีภาวะที่ส่งผลต่อการรักษาแผลหรือกระบวนการหยุดเลือดของร่างกาย
  4. ภาวะที่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อที่หน้าอกน้อยลง
  5. ต้องทำเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดภายหลังจากการเสริมหน้าอก
  6. มีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางสุขภาพจิตอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยที่คิดว่าตนเองมีรูปร่างผิดปกติ มีโรคการกินผิดปกติ มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หรือภาวะสุขภาพทางจิตทั้งหลาย ควรได้รับการรักษาให้หายดีหรือมีอาการทรงตัวก่อนเข้ารับศัลยกรรมเสริมหน้าอก