โรคหน้าอก

เจ็บหน้าอก บ่งบอกถึงอาการอะไร ไปดูกันเลย

เจ็บหน้าอกอาจเกิดขึ้นได้บริเวณตั้งแต่ลำคอ เรื่อยไปจนถึงหน้าท้องส่วนบน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ ความรุนแรงของอาการเจ็บบริเวณหน้าอกมีหลายระดับ คุณอาจรู้สึกเจ็บแปลบ ปวดตื้อ ๆ แสบร้อน ปวดหรือเจ็บเหมือนถูกแทง นอกจากนี้ คุณอาจมีความรู้สึกแน่นหน้าอก หรือมีความรู้สึกเหมือนถูกบีบที่กลางอก คุณควรเข้าพบหมอ หากเกิดอาการเจ็บที่หน้าอกที่ไม่สามารถอธิบายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกิดอาการเฉียบพลัน และอาการไม่หายไป แม้จะใช้ยาระงับอาการหรือปรับพฤติกรรมแล้วก็ตาม ในกรณีที่อาการเจ็บหน้าอกเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ ควรรีบโทรแจ้งเหตุฉุกเฉินทันที

สาเหตุของการเจ็บที่หน้าอก

อวัยวะตั้งแต่ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ซี่โครง ปอด หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หัวใจ อวัยวะเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บหรือจุกหน้าอก แต่จะต่างกันที่ลักษณะอาการเจ็บที่หน้าอก และอาการร่วมอื่น ๆ

  1. อาการเจ็บบริเวณหน้าอกจากหัวใจและหลอดเลือด

อาการจุกแน่นหน้าอกหรืออาการนอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่เรียกว่า angina pectoris อาการเจ็บที่หน้าอกจะเป็นอาการที่สำคัญ และมักจะสัมพันธ์กับการทำงานหนัก หรือออกกำลังกายโดยมากมักจะไม่เกิน 10 นาที แน่นหน้าอกลักษณะหนัก ๆเหมือนมีคนนั่งทับบนหน้าอก อาจจะเจ็บร้าวไปคอ หรือกรามด้านซ้าย แขนซ้าย มักจะเจ็บเมื่อออกกำลังกาย พักจะหายปวดตำแหน่งที่ปวด บางรายอาจจะบอกไม่ได้ชัดว่าปวดที่ไหน แต่ส่วนใหญ่จะบอกว่าเจ็บบริเวณกลางหน้าอก หรือแน่นลิ้นปี่ แต่จะเจ็บแบบแน่น ๆซึ่งต่างจากโรคกระเพาะ เพราะจะเจ็บแบบแสบ ๆ

  1. อาการเจ็บที่หน้าอกจากหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด

อาการทำสำคัญคือมักจะเคยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเกิดอาการเจ็บที่หน้าอกทันที ร้าวไปหลังอาการเจ็บมักจะรุนแรงจนหน้ามืดหมดสติ หายใจหอบ แต่มีบางรายอาการเจ็บไม่มาก

  1. อาการเจ็บที่หน้าอกจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบอาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาการเจ็บที่หน้าอกจะเป็นแบบทันทีลักษณะการเจ็บจะต่างจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คืออาการเจ็บของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะเจ็บเหมือนมีดกรีดหรือเข็มแทง เวลานั่งจะเจ็บไม่มาก เวลานอนหรือกำลังเอนนอนจะเจ็บมากขึ้น หายใจเข้าแรง ๆจะทำให้เจ็บที่หน้าอกเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นอาจจะมีอาการติดเชื้อเช่นไข้ น้ำมูกไหล หรือไอนำมาก่อน

บทความแนะนำ ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก By Rattinan.com

  1. เจ็บที่หน้าอกจากโรคปอด

โรคลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดปอด pulmonary embolism อาการที่สำคัญคือ อาการหายใจหอบเหนื่อยมากอย่างกะทันหัน ใจสั่น แน่นหน้าอก(pleuritic pain) บางรายมีอาการหน้ามืดเป็นลม หรือหมดสติพบไม่บ่อยที่ผู้ป่วยจะมีอาการไอเป็นเลอืดซึ่งเกิดจากการที่มีการตาย ของเนื้อปอด

  1. อาการเจ็บที่หน้าอกเนื่องจากโรคระบบทางเดินอาหาร

อาการเจ็บที่หน้าอกเนื่องจากการหดเกร็งของหลอดอาหาร หลอดอาหารจะมีการหดเกร็งทำให้มีอาการจุกบริเวณหน้าอกเหมือนอาการจุกจากโรคหัวใจ แต่มักจะมีประวัติการกลืนลำบาก หรือรู้สึกเหมือนมีก้อนในคอ และมีอาการเรอเปรี้ยวร่วมด้วย

บทความแนะนำ ผ่าตัดหนังหน้าท้อง จากเว็บไซต์ Rattinan.com

อาการเจ็บบริเวณหน้าอก

อาการเจ็บบริเวณหน้าอกที่ปรากฏกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหัวใจนั้นมักมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยทั่วไป มักมีลักษณะอาการต่อไปนี้

  • รู้สึกแน่นหรือเหมือนถูกกดที่หน้าอก
  • รู้สึกเจ็บเหมือนถูกบีบที่หน้าอกและเจ็บร้าวไปที่หลัง คอ ขากรรไกร ไหล่และแขน โดยเฉพาะแขนซ้าย
  • อาการเจ็บที่เพิ่งหายไปกำเริบขึ้นได้หากต้องออกแรงมาก และอาจเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความหนักหน่วงของกิจกรรมที่ทำ
  • หายใจหอบเหนื่อย หายใจไม่สุด
  • เหงื่อออกแต่ตัวเย็น
  • ง่วงซึมหรืออ่อนเพลีย
  • วิงเวียนหรืออาเจียน

อาการ เจ็บหน้าอก

อาการเจ็บบริเวณหน้าอกจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

อาการเจ็บหน้าอกไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากปัญหาสุขภาพของหัวใจหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บบริเวณหน้าอกที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพหัวใจนั้นมักเกิดลักษณะของอาการดังนี้

  • รับรสเปรี้ยวหรือรู้สึกว่ามีน้ำจากสิ่งที่กลืนลงไปไหลขึ้นมาที่คอ
  • อาการเจ็บทที่หน้าอกอาจดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ
  • อาการเจ็บที่หน้าอกกำเริบมากขึ้นเมื่อหายใจลึก ๆ หรือไอ
  • รู้สึกแน่นตึงเมื่อกดหน้าอก

การรักษาอาการเจ็บบริเวณหน้าอก

วิธีรักษาอาการเจ็บบริเวณหน้าอกมีหลายวิธี โดยขึ้นกับสาเหตุของโรคหรือปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว วิธีการรักษาหลัก ๆ แบ่งเป็นการรักษาด้วยยาและการผ่าตัด ดังนี้

  1. การรักษาด้วยยา

แพทย์จะใช้ยารักษาผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บที่หน้าอกอันเนื่องมาจากสาเหตุที่พบได้ทั่วไป โดยตัวยาที่ใช้รักษานั้น ได้แก่

  • ไนโตรกลีเซอรีน แพทย์จะใช้ยาไนโตรกลีเซอรีนแบบเม็ด โดยให้ผู้ป่วยอมไว้ใต้ลิ้น ไนโตรกลีเซอรีนจะช่วยให้หลอดเลือดหัวใจขยาย ส่งผลให้เลือดไหลผ่านได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ แพทย์ยังใช้ยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตเพื่อช่วยขยายหลอดเลือดร่วมด้วย
  • ยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจจะได้รับยาละลายลิ่มเลือดเพื่อเข้าสลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นการลำเลียงเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ยาลดการหลั่งกรด ผู้ป่วยที่เจ็บที่หน้าอกเพราะกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร จะได้รับยาที่ช่วยลดการหลั่งกรด
  • ยารักษาอาการซึมเศร้า ผู้ป่วยที่มีประวัติหวาดกลัวหรือกังวลจนส่งผลให้เกิดอาการเจ็บที่หน้าอก อาจได้รับยารักษาอาการซึมเศร้าเพื่อช่วยจัดการกับภาวะที่ประสบอยู่ ทั้งนี้ อาจต้องรักษาด้วยวิธีบำบัดทางจิตร่วมด้วย
  1. การผ่าตัดและการรักษาด้วยกระบวนการอื่น

นอกจากใช้ยาในการรักษาอาการเจ็บที่หน้าอกที่เกิดจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ แล้ว ยังมีกระบวนการอีกหลายอย่างที่ช่วยรักษาอาการเจ็บที่หน้าอกอันเนื่องมาจากโรคหรือปัญหาสุขภาพที่อันตรายต่อชีวิต ดังนี้

  • การทำบอลลูน (Balloons and Stent Placement) ผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ จะได้รับการรักษาด้วยการทำบอลลูน โดยแพทย์จะสอดท่อเล็ก ๆ เข้าไปภายในหลอดเลือดใหญ่ซึ่งอยู่ตรงขาหนีบหรือข้อมือเข้าไปยังบริเวณที่หลอดเลือดตีบ จากนั้นจึงต่อสายท่อกับอุปกรณ์ข้างนอกเพื่อดันบอลลูนให้เปิดทางหลอดเลือด ทั้งนี้ แพทย์จะสอดขดลวดเล็กเข้าไปเพื่อช่วยให้หลอดเลือดเปิด
  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Bypass Surgery) การผ่าตัดนี้คือการผ่าตัดนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นในร่างกายมาใช้เป็นเส้นทางการไหลเวียนโลหิตแทนหลอดเลือดที่อุดตัน
  • ศัลยกรรมรักษาผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ผู้ป่วยภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ต้องได้รับการผ่าตัดด่วน เพื่อรักษาผนังหลอดเลือดที่ฉีกขาด
  • ศัลยกรรมรักษาปอด ผู้ที่ปอดแฟบเพราะได้รับบาดเจ็บหรือได้รับความกระทบกระเทือนจนปอดเสียหาย แพทย์อาจผ่าตัดรักษาโดยสอดท่อเข้าไปที่ทรวงอกบริเวณเยื่อหุ้มปอดของผู้ป่วย ซึ่งช่วยให้ปอดกลับมาขยายได้อีกครั้ง