ศัลยกรรมหน้าอก, เสริมหน้าอก

เสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ ทำยังไง อยากรู้บทความนี้มีคำตอบ

การศัลยกรรมเสริมหน้าอก เป็นอีกหนึ่งหัตถการที่ได้รับความนิยมไม่น้อย เพราะสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับสาว ๆ ยังช่วยปรับสัดส่วนและรูปร่างของสาว ๆ ให้ดูสวย สมส่วนมากขึ้นด้วย

การศัลยกรรมทำนมส่วนใหญ่แล้วจะมี ‘ซิลิโคน’ อยู่ 2 ทรง คือ ทรงกลมและทรงหยดน้ำ ซึ่งทรงหยดน้ำเมื่อเสริมเข้าไปแล้วหน้าอกของสาว ๆ จะย้อยหน่อย ๆ ดูคล้ายกับหยดน้ำ ๆ ส่วนทรงกลมนั้นจะออกมาแบบที่อกอึ๋มนูนกลม การเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ ซิลิโคนจะถูกออกแบบมาเพื่อเลียนแบบอวัยวะร่างกาย เพื่อให้ได้หน้าอกที่ธรรมชาติมากกว่า หากอยู่ในท่านอนจะไม่เห็นขอบถุงเต้านมเทียม ปลายถันจะเชิดขึ้นเล็กน้อย การศัลยกรรมเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำต้องเสริมให้สมดุลกับรูปร่าง การเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ จะทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยเนื่องจากซิลิโคนทรงหยดน้ำมีลักษณะเหมือนทรงหน้าอกเดิมของผู้หญิง หลังผ่าตัดจึงเกิดช่องว่างระหว่างซิลิโคนในเต้านมน้อย ปัญหาซิลิโคนเคลื่อนหรือผังพืดหดรัดจึงเกิดน้อยลง

การเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำเหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีระยะห่างระหว่างหัวนมกับฐานเต้านมน้อย ผู้ที่มีระยะห่างระหว่างหัวนมกับฐานเต้านมน้อย จะทำให้มีพื้นที่ใส่ซิลิโคนขนาดไม่ใหญ่พอที่จะสามารถใส่ซิลิโคนทรงกลมได้
  • ผู้ที่มีหน้าอกสูง โดยปกติระยะห่างระหว่างกลางไหปลาร้ากับหัวนมจะอยู่ประมาณ 18-22 เซนติเมตร ถ้าตำแหน่งของหัวนมสูงกว่านี้การใส่ซิลิโคนทรงกลมจะยิ่งดันหน้าอกให้สูงขึ้นอีก ทำให้ไม่สามารถเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ตามที่ต้องการได้ ซิลิโคนทรงหยดน้ำจึงเหมาะกับกรณีนี้เพราะนอกจากทำให้หน้าอกมีวอลลุ่มและหน้าอกไม่ถูกดันให้สูงเกินไป
  • เหมาะการผ่าตัดแก้ไขศัลยกรรมหน้าอก เช่น เนินอกสูง ดูไม่เป็นธรรมชาติ กรณีที่ใช้ซิลิโคนแบบผิวเรียบแล้วเกิดพังผืดรัด จึงต้องเปลี่ยนมาเป็นแบบเนื้อทราย หรือ กรณีที่ต้องการเพิ่มขนาดแต่ต้องการให้ดูเป็นธรรมชาติ

การเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำเหมาะกับใคร

ข้อดีของการเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ

  • สามารถให้รูปทรงที่เป็นธรรมชาติ เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการเสริมในปริมาณมาก หรือไม่ต้องการให้เห็นเนินอกด้านบนเด่นชัดจนเกินไป
  • เหมาะกับคนผิวหนังหรือเนื้อเต้านมหย่อนคล้อยเล็กน้อยหรือปานกลาง จะช่วยแก้ไขให้ได้ทรงเต้านมที่ดีขึ้น

ข้อเสียของการเสริมหยดน้ำ

  • อาจเกิดการบิดหมุนผิดรูปทรงได้หลังผ่าตัดไปแล้ว อาจเกิดจากเทคนิคการผ่าตัดหรือ มีการขยับกล้ามเนื้ออย่างไม่เหมาะสม
  • ราคาแพงกว่าซิลิโคนทรงกลม เพราะแพร่หลายน้อยกว่า
  • ผ่าตัดใส่ยากกว่า ต้องใช้ความชำนาญของแพทย์มากกว่า

ปัจจุบันการผ่าตัดเสริมหน้าอกมีหลายแบบด้วยกัน ได้แก่ การผ่าตัดที่ตำแหน่งรักแร้ ใต้ราวนม รอบปานนม และสะดือ ซึ่งแต่ละแบบก็จะแตกต่างกันออกไปเช่น

  • การผ่าตัดที่ตำแหน่งรักแร้ แผลผ่าตัดจะซ่อนอยู่ใต้รักแร้ ไม่มีแผลตามร่างกาย คือแต่จะเจ็บประมาณ 1 อาทิตย์
  • การผ่าตัดที่ใต้ราวนม ฟื้นตัวเร็ว บวมน้อย สามารถหยุดเลือดได้ง่าย แต่ข้อเสียคือจะมีแผลเป็นตลอดชีวิตการ
  • ผ่าตัดที่รอบปานนม แผลผ่าตัดเข้าถึงเต้านมได้โดยตรง และเจ็บน้อย แต่ข้อเสียคือ มีรอยแผลที่รอบปานนม และอาจมีอาการชาที่หัวนม

วิธีเลือกซิลิโคนเสริมหน้าอก

การเลือกซิลิโคนที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยศัลยแพทย์จะใช้ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และแนะนำในการเลือกชนิดและขนาดซิลิโคนที่เหมาะสม ได้แก่

  • ขนาดความสูงและความกว้างของลำตัว
  • ลักษณะของเนื้อหน้าอกเดิม เช่น ความหย่อนคล้อย ความหนาของผิวหนัง และไขมันบริเวณหน้าอก

เตรียมตัวก่อนเสริมเต้านม

  • ก่อนอื่นต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตามเกณฑ์ ให้พร้อมเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นขณะทำการผ่าตัดเสริมหน้าอก
  • งดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนมาผ่าตัด
  • หยุดยาที่รับประทานบางชนิดก่อนการผ่าตัด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วิตามิน หรือสมุนไพร
  • หยุดสูบบุหรี่และหยุดดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 4 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

เตรียมตัวก่อนเสริมเต้านม

ดูแลหลังเสริมเต้านม

การดูแลหลังเสริมเต้านม ประกอบไปด้วย

  • การดูแลแผลผ่าตัด ในช่วงสัปดาห์แรกสามารถอาบน้ำได้ เนื่องจากแพทย์จะทำการปิดฟิล์มกันน้ำ แต่หลีกเลี่ยงการลงไปแช่ในน้ำหรือว่ายน้ำในสระ หลังจากพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กและแผลหายดีแล้วจะมีการแนะนำให้ใช้ครีมทาแผลเป็นหรือแผ่นซิลิโคนปิดแผลเป็น
  • การดูแลหน้าอกหลังใส่ซิลิโคน แนะนำให้ใส่บราชนิดไม่มีโครงอย่างน้อย 1 เดือน หลีกเลี่ยงการกดทับหรือกระแทกบริเวณหน้าอก และการออกกำลังกายที่ใช้แขนมากในช่วง 1 เดือนแรก
  • การดูแลอื่น ๆ ได้แก่ งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ รวมทั้งของหมักดอง อย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
  • การดูแลในระยะยาว หมั่นตรวจเช็กหน้าอกด้วยตัวเองและตรวจแมมโมแกรมตามกำหนด

ภาวะแทรกซ้อนหลังเสริมเต้านม

  • ภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการเสริมเต้านม ได้แก่
  • มีอาการปวด บวม แผลอักเสบ ติดเชื้อ มีน้ำเหลืองหรือเลือดออกจากแผลผ่าตัดคลำได้ก้อนบริเวณหน้าอก
  • ผลข้างเคียงจากยาสลบ ยาแก้ปวด เช่น คลื่นไส้ อาเจียน
  • ผลระยะยาวจากการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การเกิดพังผืดหดรัด การเคลื่อนตำแหน่งของซิลิโคน การหย่อนคล้อยของหน้าอก รวมทั้งการผิดรูป เช่น  แข็งตัวหรือเสียรูปทรง หรือการแตกของถุงซิลิโคน

การทำศัลยกรรมหน้าอก ด้วยซิลิโคนปัจจุบันซิลิโคนที่ใช้เสริมหน้าอกมีมาตรฐานมากขึ้นและมีใบการันตี สามารถมีอายุการใช้งานได้แบบไม่มีหมดอายุ ซึ่งหากไม่มีปัญหาอะไรก็สามารถอยู่ได้ตลอดอายุเลย