ศัลยกรรมหน้าอก, เสริมหน้าอก

เสริมหน้าอกพักฟื้นกี่วัน แล้วต้องรับมือกับภาวะแทรกซ้อน อะไรบ้าง

การผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งหน้าอก โดยปกติทั่วไปการผ่าตัดเสริมหน้าอกจะทำโดยการดมยาสลบแล้วพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 คืน เพื่อความปลอดภัยหลังผ่าตัดเสริมหน้าอกควรพักฟื้นกี่วัน การพักฟื้นหลังผ่าตัด เสริมหน้าอก โดยทั่วไประยะเวลาพักฟื้น ประมาณ 1 อาทิตย์ เพียงพอ แต่ถ้างานที่ทำต้องมีการออกกำลังหนักมาก อาจหยุดเพิ่มระยะเวลาพักฟื้นขึ้นโดยหลังผ่าตัดจะแนะนำให้ลดอาการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การยกแขนเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น หากผ่าตัดใต้กล้ามเนื้อ จะเจ็บปวดมากกว่าต้องการระยะเวลาพักฟื้นที่ยาวนานกว่า และคนอายุน้อยใช้ระยะเวลาพักฟื้นสั้นกว่า

การที่เราต้องพักฟื้นหลังการผ่าตัด เพื่อต้องรับมือกับภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอกที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการเสริมหน้าอก ได้แก่

  • ปวดอาการปวดจากการเสริมหน้าอก อาจจะมีระดับปานกลาง การผ่าตัดใต้กล้ามเนื้อปวดมากกว่าเหนือกล้ามเนื้อแผลที่อยู่ที่รักแร้ทำให้ปวดมากกว่าแผลที่อยู่ที่หัวนมหรือใต้ราวนมโดยทั่วไปอาการปวดจะแตกต่างกันตามวุฒิภาวะของแต่ละคนในช่วงระหว่างนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลจะใช้ยากลุ่ม มอร์ฟีนและขณะที่กลับบ้านสามารถใช้ยาแก้ปวดกลุ่มพาราเซตามอล ร่วมกับยาแก้ปวดอื่นได้ โดยทั่วไปอาการปวดจะดีขึ้นในช่วง 2-3 วันในบางคนอาจมีอาการปวดร้าวไปที่แขนหรือหลังซึ่งแก้ไขได้โดยการประคบน้ำอุ่นและรับประทานยาแก้ปวดงดการเคลื่อนไหวที่รุนแรง
  • บวมอาการบวมจะหายภายใน 3-10 วัน ถ้าเป็นการผ่าตัดเหนือกล้ามเนื้อ ประมาณ 2-12 อาทิตย์ สำหรับการผ่าตัดใต้กล้ามเนื้อ พยายามหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วง 2 อาทิตย์แรก และควรนอนหนุนหมอนสูง
  • แผลอักเสบ ติดเชื้อมีน้ำเหลืองหรือเลือดออกจากแผลผ่าตัด เกิดการติดเชื้อ กรณีที่แผลผ่าตัดสัมผัสกับแบคทีเรียหรือเชื้อรา โดยจะสามารถแสดงอาการติดเชื้อได้ตั้งแต่ในวันแรก ๆ ไปจนถึงเป็นสัปดาห์ ทำให้มีอาการอักเสบ ระคายเคือง เจ็บ บวมแดง เป็นไข้ หรือร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งหากคนไข้ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะก็อาจต้องนำเอาซิลิโคนเสริมหน้าอกออก
  • ผลข้างเคียงจากยาสลบ ยาแก้ปวด เช่น คลื่นไส้ อาเจียนเกิดจากการดมยาสลบ โดยทั่วไปยาลดอาการอาเจียนสามารถช่วยลดอาการดังกล่าวได้
  • การคันบริเวณผิวหนังเกิดจากการหายของแผลภายในและแผลเส้นประสาทอาการดังกล่าวจะดีขึ้นเรื่อย ๆ
  • อาการเขียวหลังผ่าตัดอาทิตย์แรกจะเขียวหรือบวมที่แผลผ่าตัดมาก โดย 1-2 วันแรกจะแดง ในวันที่ 3-4 จะเริ่มเขียว ในคนที่ผ่าตัดที่รักแร้จะมีอาการเขียวที่รักแร้ ในวันที่ 3-4 อาการเขียวจะลดลงมาที่แขนในอาทิตย์ที่ 1-2 โดยทั่วไปอาการเขียวที่หน้าอกจะหายไปในวันที่ 7 -10 สำหรับบริเวณหน้าอกระยะแรก ๆ จะบวมอย่างเดียวอาการเขียวจะเริ่มที่ฐานนม ในอาทิตย์ที่ 2 และอาทิตย์ที่ 3 อาการเขียวจะลดลงมาที่หน้าท้องส่วนบนตามแรงโน้มถ่วงของโลกอาการเขียวปกติ จะมีบ้างแต่ไม่มากแต่ถ้าเขียวมาก ๆ ควรติดต่อแพทย์โดยทันทีเพราะอาจมีเลือดค้างข้างในมากผิดปกติ
  • ผลระยะยาวจากการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การเกิดพังผืดหดรัด การเคลื่อนตำแหน่งของซิลิโคน การหย่อนคล้อยของหน้าอก รวมทั้งการผิดรูป เช่น  แข็งตัวหรือเสียรูปทรง หรือการแตกของถุงซิลิโคน
  • จะรู้สึกชา ชั่วคราวบางรายนาน 1-2 เดือน หัวนมชาหรือไวต่อความรู้สึก 15 % ของผู้หญิงที่เสริมอกจะมีอาการหัวนมชาและจะเป็นแบบชั่วคราวและมักเกิดกับการเสริมเหนือกล้ามเนื้อ
  • เส้นประสาทรับความรู้สึกการเสริมหน้าอกอาจมีการกระทบกระเทือนเส้นประสาทรับความรู้สึกได้ หลังผ่าตัดอาจมีลักษณะอาการเจ็บแปลบๆในบางตำแหน่ง จากการที่เส้นประสาทรับความรู้สึกอาการเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้น อย่างไรก็ตามถ้ามีอาการปวดและมีการบวมแดงหรือเขียวมากควรกลับมาให้แพทย์ตรวจโดยทันที
  • มีของเหลวสะสมรอบ ๆ ซิลิโคนเสริม อาจส่งผลให้มีอาการบวม เจ็บ และฟกช้ำ ของเหลวก้อนเล็กอาจถูกร่างกายดูดซึม แต่หากมีขนาดใหญ่แพทย์จำเป็นต้องใช้ท่อระบายออก

คำแนะนำก่อนผ่าตัดเสริมหน้าอกเพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย

นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำก่อนผ่าตัดเสริมหน้าอกเพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเสริมนม

  • ผู้ที่ไม่เหมาะจะเสริมหน้าอก เพราะมีภาวะแทรกซ้อนได้สูง คือผู้ที่มีอายุมาก มีโรคประจำตัว เช่น โรคซีด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ภูมิแพ้ หอบหืด ไม่แข็งแรง ฯลฯ ไม่ควรเสริมนม
  • ควรเลือกแพทย์ ที่มีฝีมือ มีประสบการณ์ มีความชำนาญ สามารถตรวจสอบจากแพทยสภาได้
  • ควรเลือกสถานพยาบาล ที่สะอาด ปลอดภัยได้มาตรฐานจดทะเบียนถูกต้องตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด มีอุปกรณ์ช่วยชีวิต มีบุคลากร ครบพร้อม
  • ควรเลือกชนิดซิลิโคนที่ได้มาตรฐาน ถุงซิลิโคน สามารถทนต่อแรงกดบีบ ยืดขยายตัวได้ดี โอกาสซึมหรือรั่วต่ำ ของเหลวที่บรรจุในถุงเป็นซิลิโคนเหลว หรือน้ำเกลือที่มีการรับประกัน อย่าเลือกที่ราคาถูก แต่คุณภาพต่ำ เพราะจะเกิดอันตรายขึ้นได้หากเกิดการแตก หรือรั่ว