หากคุณกำลังเป็นคนหนึ่งที่กำลังจะทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก เสริมนม สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกวันนี้เรามีคำตอบให้คุณ
วัตถุประสงค์หลักๆ ของการผ่าตัดศัลยกรรมเสริมหน้าอก
เพื่อแก้ปัญหาเต้านมไม่ได้รูปทรงที่สวยงาม ทำขนาดเล็กให้ใหญ่ หรือทำขนาดที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลง
เพื่อแก้ปัญหาหย่อนคล้อย สร้างเต้านมใหม่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งหลังตัดเต้านม ปรับเปลี่ยนรูปร่าง และขนาดของหัวนมก็สามารถทำได้ด้วย
ชนิดของซิลิโคนที่ใช้เสริมหน้าอก
- ซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงกลม เป็นลักษณะที่เลือกใช้กันมากที่สุด
- ซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ เหมาะสำหรับรูปร่างสูงบาง ลดปัญหาเต้านมทรงลูกบอล
มีหลายขนาดให้เลือก และมีทั้งพื้นผิวเรียบและผิวทราย เริ่มต้นตั้งแต่ 100 ซีซี เสริมหน้าอก 300 cc ไปจนถึง 800-1000 cc ตามแต่ความเหมาะสม ซึ่งก่อนทำควรได้รับการวิเคราะห์แนะนำโดยศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทาง ซึ่งซิลิโคนสำหรับการเสริมหน้าอก สามารถจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
- ผิวทราย เป็นมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา แต่ล่าสุดมีรายงานว่า อาจจะมีความเสี่ยงกับการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
- ผิวเรียบ ใช้กันดั้งเดิมก่อนมีการผลิตผิวทราย ไม่มีการรายงานว่าเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเม็ดเลือดขาว
การวางตำแหน่งวางถุงซิลิโคน
- ใต้กล้ามเนื้อ หากเกิดปัญหาพังผืดจะอยู่ในชั้นลึก เต้านมใหม่มีความพุ่งน้อยกว่า เป็นภูเขาฐานกว้างมีความจำเป็นต้องตัดกล้ามเนื้ออกบางส่วนเพื่อสร้างโพรง อาจทำให้กำลังแขนและไหล่ของนักกีฬาลดลงเมื่อเกร็งกล้ามเนื้ออกอาจเห็นเต้านมขยับ
- ใต้เนื้อเต้านม เจ็บน้อยกว่า ฟื้นตัวเร็วกว่า เพราะไม่มีการตัดผ่านกล้ามเนื้อ ได้ความพุ่งเป็นเต้ามากกว่า ไม่ทำให้เกิดปัญหาในนักกีฬา
การเลือกตำแหน่งของการผ่าตัด
- แนวแผลผ่าตัดเสริมหน้าอกใต้ฐานขอบใต้ราวนม ได้เต้านมที่ตำแหน่งแม่นเท่ากันที่สุด เกิดการช้ำน้อย และไม่มีโอกาสเกิดปัญหาหัวนมชา หรือท่อน้ำนมอุดตันบาดเจ็บ
- แนวแผลผ่าตัดเสริมหน้าอกที่รักแร้ ไม่มีรอยแผลบนเต้านม แต่การผ่าตัดค่อนข้างเป็นไปด้วยความลำบาก เพราะจะมองไม่เห็นจุดเลือดออกขณะผ่าตัด การกำหนดตำแหน่งซิลิโคนแม่นยำต่ำกว่า มีโอกาสเกิดพังผืดมากกว่า เพราะเป็นการเลาะโพรงด้วยการแหวกเนื้อ (blunt dissection) ศัลยแพทย์บางท่านใช้กล้องผ่าตัดร่วมด้วยเพื่อลดปัญหา
- แนวแผลผ่าตัดเสริมหน้าอกรอบปานนม รอยแผลครึ่งวงกลมตามแนวปานนม มีความเสี่ยงบาดเจ็บเส้นประสาทและท่อน้ำนมมากกว่าวิธีอื่น
ขั้นตอนการผ่าตัดศัลยกรรมเสริมหน้าอก
- วางยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์
- แพทย์ทำการผ่าตัด จะเปิดแผล บริเวณที่นิยมคือ ใต้ฐานนม และบริเวณ ข้อพับใต้รักแร้
- วางซิลิโคนตามตำแหน่งที่เหมาะสม
- เย็บแผลผ่าตัด ก่อนปิดแผลอาจทำการวางท่อระบายผ่านผิวหนังไว้เพื่อช่วยป้องกันการสะสมของเลือดหรือของเหลว ซึ่งท่อระบายนี้จะถูกนำออกไปในการนัดตรวจหลังการผ่าตัดครั้งต่อไป
เสริมหน้าอกต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
- งดรับประทานยาละลายลิ่มเลือด (กลุ่มยา Aspirin, Ibuprofen) วิตามินเอ อี ซี สมุนไพร โสมใบแปะก๊วย น้ำมันปลา ก่อนรับบริการ 2 สัปดาห์
- งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- ควรอาบน้ำสระผม ทำความสะอาดร่างกายให้สะอาดเรียบร้อยก่อนการผ่าตัด
- เตรียมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย ใส่และถอดใส่ง่าย เช่นเสื้อที่มีกระดุมหน้า
- งดอาหารและน้ำ ก่อนการผ่าตัด เพื่อดมยาสลบ 6 ชั่วโมง
การดูแลหลังศัลยกรรมผ่าตัดเสริมหน้าอก
- หลังการผ่าตัด เสริมหน้าอก ควรงดออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ต้องยกแขนสูง ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์
- ทานยาตามคำแนะนำของแพทย์
- หลังการผ่าตัด เสริมหน้าอก ควร หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำประมาณ 5 วัน หลังผ่าตัด หากแผลเปียกน้ำควรใช้ผ้าสะอาดซับแผลให้แห้งทุกครั้ง
- งดสูบบุหรี่ และ ทานของหมักดอง ในช่วง 1 – 2 สัปดาห์แรก
- ในช่วงพักฟื้น ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใส่เสื้อชั้นในสำหรับการผ่าตัดเสริมหน้าอก ผ้าพันหน้าอกหรือยกทรงสำหรับออกกำลังกายเพื่อให้รองรับแผลผ่าตัดไว้ เป็นไปได้ว่าจะสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงทั้งหลายที่จะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- หากมีการใส่ท่อระบายก้อนเลือดหรือของเหลว แพทย์จะนำออกให้ 1-2 สัปดาห์หลังจากการผ่าตัด และส่วนใหญ่มักกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ใน 6 สัปดาห์ จนผ่านไปสัก 2-3 เดือน หน้าอกจะเริ่มดูเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น ถึงระยะนี้จึงสามารถหยุดใส่ยกทรงรองรับเต้านม
ความเปลี่ยนแปลงในช่วงแรกหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก
- อาจมีความรู้สึกตึงแน่นบริเวณหน้าอก อาการจะดีขึ้นเองใน 1 – 2 วัน
- รอยช้ำอาจเกิดขึ้นในบางราย และจะค่อย ๆ จางหายไปเอง แต่ไม่ควรจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสัญญาณของเลือดออกภายใน
- อาการชาที่หัวนมอาจเกิดขึ้นได้มากในกรณีที่เนื้อถูกยืดด้วยซิลิโคนขนาดใหญ่ แต่ไม่ควรเกิดอาการชานานเกิน 1 – 2 สัปดาห์ในกรณีปกติ
มีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก หรือไม่
- อาการเจ็บหน้าอกบริเวณหัวนมหรือเต้านม
- อาการแดงหรือฟกช้ำจากการมีเลือดออกระหว่างผ่าตัดที่อาจทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีแดงได้ชั่วคราว
- แผลผ่าตัดหายช้า
- ต่อมน้ำเหลืองบวมโต
- อาการเจ็บหน้าอกบริเวณหัวนมหรือเต้านม
- อาการแดงหรือฟกช้ำจากการมีเลือดออกระหว่างผ่าตัดที่อาจทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีแดงได้ชั่วคราว
- ผ่าตัดหายช้า
- ต่อมน้ำเหลืองบวมโต
- คนไข้หรือศัลยแพทย์อาจไม่พอใจกับรูปร่างหรือขนาดของหน้าอกใหม่หลังการเสริม