โควิด

โควิด-19 มี่กี่สายพันธ์ อะไรบ้าง?

การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ไปเป็นสายพันธุ์ใหม่จะเกิดขึ้นทุกวัน องค์การอนามัยโลก  ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) คือสายพันธุ์ไวรัสที่ติดต่อแค่ในมนุษย์ตั้งแต่เดือนธันวาคม2019 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุขมีความกังวลเพราะยังไม่มีความรู้เดี่ยวกับไวรัสชนิดใหม่เท่าไหร่ และมีความเป็นไปได้ว่า ไวรัสจะก่อให้เกิดอาการป่วยรุนแรง แรงและโรคปอดบวมในคนบางส่วนได้

เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดอยู่กี่สายพันธุ์

ประเทศไทยมีการระบาดจากโควิด-19 อยู่ 2 สายพันธุ์หลักคือ B.1.36.16 ซึ่งเริ่มระบาดเมื่อต้นปี 2564 คาดว่าเป็นสายพันธุ์ประจำถิ่นไทยโดยเข้ามาแทนสายพันธุ์ A.6 ดั้งเดิมในปี 2563 พบในหลายจังหวัด ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ (asymptomatic)

สายพันธุ์ที่กำลังเกิดการระบาดเป็นวงกว้างอยู่ในขณะนี้คือโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ซึ่งเพิ่งเริ่มเข้ามาระบาดในไทยเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2564 มีการติดต่อได้ง่ายกว่า มีความรุนแรงมากกว่า มีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงกว่าสายพันธุ์เดิมไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ L ซึ่งเป็นสายพันธุ์ต้นกำเนิดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในเดือน ธ.ค.2562 และแยกออกมากเป็นสายพันธุ์ ต่าง ๆ ประกอบด้วย S,L,G,V,GH,GR,O,B ดังนี้

  1. สายพันธุ์เอส S (Serine) : เริ่มต้นจากประเทศจีน ระบาดระลอกแรกในไทย เดือน มี.ค.2563
  2. สายพันธุ์ L (Leucine) : แพร่กระจายมีลูกหลานได้มากกว่าสายพันธุ์ S โดยเฉพาะเมื่อออกนอกจีนไปถึงยุโรป
  3. สายพันธุ์ G (Glycine) : ลูกหลานที่มาจากสายพันธุ์ L แพร่กระจายได้ง่ายตามหลักวิวัฒนาการ กระจายทั่วโลกอย่างกว้างขวาง
  4. สายพันธุ์ V (Valine) : เป็นลูกหลานที่มาจากสายพันธุ์ L
  5. สายพันธุ์ GH (Histiddine) :เป็นลูกหลานจากสายพันธุ์ G
  6. สายพันธุ์ GR (Arginine) : เป็นลูกหลานจากสายพันธุ์ G
  7. สายพันธุ์ O : พวกที่กลายพันธุ์ไม่บ่อยรวมกัน
  8. สายพันธุ์ B หรือ SARS-CoV-2 VUI 202012/01 ต้นกำเนิดกลายพันธุ์จากประเทศอังกฤษ
โควิด-19 มี่กี่สายพันธ์

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์

สายพันธุ์ B.1.1.7 (GR,G) หรือสายพันธุ์อังกฤษ

พบครั้งแรก: อังกฤษ เมื่อเดือนกันยายน. 2563 แพร่กระจายเป็นวงกว้างในอังกฤษ และอีกกว่า 50 ประเทศ

ลักษณะพิเศษ: ผิวไวรัสมีการกลายพันธุ์ จับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้น

อัตราการแพร่เชื้อ: แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมราว 40-90%

สายพันธุ์ B.1.351 (GH,G) หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้

พบครั้งแรก: แอฟริกาใต้ เดือนธันวาคม 2563

ลักษณะพิเศษ: หนามโปรตีน N501Y, E484K มีการกลายพันธุ์ ไวรัสจับตัวเซลล์ได้ดีขึ้น เชื้อแพร่กระจายง่าย

อัตราการแพร่เชื้อ: แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมราว 50%

สายพันธุ์ P.1 (GR)

พบครั้งแรก: บราซิล เดือนธันวาคม 2563

ลักษณะพิเศษ: โปรตีนหนาม N501Y, K417T, E484K มีการกลายพันธุ์

อัตราการแพร่เชื้อ: แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 2.5 เท่า หรือราวๆ 25-60%

สายพันธุ์ B.1.617 หรือสายพันธุ์อินเดีย

พบครั้งแรก: เมืองนาคปุระ รัฐมหาราษฎระ ประเทศอินเดีย เดือนธันวาคม 2563

ลักษณะพิเศษ: หนามของอนุภาคไวรัสหลายตำแหน่งมีการกลายพันธุ์ เป็นการกลายพันธุ์แบบคู่ double mutant

อัตราการแพร่เชื้อ: แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมราว 20%

สายพันธุ์ B.1.618 หรือสายพันธุ์เบงกอล

พบครั้งแรก: รัฐมหาราษฎระ เดลี เบงกอลตะวันตก และฉัตติสครห์ ประเทศอินเดีย เดือนตุลาคม 2563 และพบการระบาดอีกครั้งในเดือนมีนาคม 2564

ลักษณะพิเศษ: หนามตำแหน่ง H146 และ Y145 หายไป และตำแหน่ง E484K และ D614G กลายพันธุ์

อัตราการแพร่เชื้อ: มีหลักฐานการแพร่เชื้อที่เร็วขึ้นมากในรัฐเบงกอลตะวันตก

สายพันธุ์ B.1.36.16

พบครั้งแรก: เมียนมา และเป็นเชื้อไวรัสที่กำลังระบาดในไทย พบช่วงต้นปี 2564

ลักษณะพิเศษ: ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ (asymptomatic)

ความรุนแรง: หากยังระบาดไปอีก 3-4 เดือน อาจกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ท้องถิ่นของไทย

ป้องกันตัวเองอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อไวรัส COVID-19

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หากไม่สามารถทำได้ให้ใช้ แอลกอฮอล์ล้างมือ
  • หลีกเลี่ยงใช้มือสกปรกสัมผัส ดวงตา จมูก หรือปาก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
  • หากมีอาการป่วยให้อยู่ในบ้านหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวกับผู้อื่น
  • ใช้กระทิชชู่หรือแขนเสื้อปิดจมูกหรือปากเมื่อ ไอหรือจาม

อาการโควิด-19 อาการเบื้องต้นเป็นอย่างไร

อาการโควิดเบื้องต้น

ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก ระบุว่าอาการโควิด-19 ที่สังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองมี อาการดังนี้

  • มีไข้
  • เจ็บคอ
  • ไอแห้ง
  • น้ำมูกไหล
  • หายใจเหนื่อยหอบ
  • ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ
  • สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
  • มีผื่นบนผิวหนัง
  • ตาแดง
  • นิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ โดย ทางด้านแพทย์อาจจะตรวจโควิด rt pcr หรือสอบเพิ่มเติมด้วยการเอ็กซ์เรย์ปอด แล้วพบว่าปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากมีอาการหนักมาก ๆ (พบว่าติดเชื้อในระยะหลัง ๆ แล้ว) อาจอันตรายถึงอวัยวะภายในต่าง ๆ ล้มเหลว